17 june 11 : บริการยืม-คืน









บริการยืม-คืน    (Circulation Service)


เป้าหมายหลัก คือ  บริการและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้นำเอกสารไปใช้นอกสถาบันได้



บทบาทหน้าที่ของบริการยืม-คืน
1.ก ารควบคุมงานบริการยืม - คืน  : เป็นงานบริการพื้นฐานที่ต้องมีในห้องสมุดใหม่ สืบเนื่องมาจากเป้าหมายขององค์กร คือ ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างแท้จริงและทุกคนมีสิทธิ์ยืมอย่างเท่าเทียมกัน
2. .ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด : เป็นจุดแรกที่ผู้ใช้จะมองเห็นและเข้ามาติดต่อมาก บริการนี้อาจเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพของการบริการ
ความรู้และทักษะที่ต้องการ
·มีใจรักในงานบริการสูง และมีความอดทนสูง
·มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มี ไว้บริการ เช่น รู้ว่านักเขียนคนนี้มีหนังสือใหม่ออกมาแล้ว เป็นต้น
·มีทักษะการใช้ computer , ฐานข้อมูล ,  Opac
·มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
·มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
คุณสมบัติ
·   มีวิธีคิด แนวคิดที่มีการพัฒนา
·   ต้องคำนึงถึงคุณภาพทรัพยากรสูงสูง

งานที่เกี่ยวข้อง
·การยืม คืน
·ระบบการยืม คืนผู้ใช้
·การลงทะเบียนผู้ใช้

การจัดเก็บทะเบียนผู้ใช้ : ระบบงานยืม-คืนอัตโนมัติ
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
ILS – The Integrated Library system : The Automate Library System  
:ซอฟแวร์สำหรับบริการจัดการห้องสมุดมีความสมารถหลักๆคือ มีระบบจัดเก็บรายละเอียดบรรณานุกรมของหนังสือ (รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์) และมีระบบสมาชิกที่สามารถติดตามสถานะ การยืมคืนหนังสือได้อย่างสะดวก โดยทั่วไปมักจะแบ่งส่วนติดต่อกับผู้ใช้ออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนสำหรับให้บรรณารักษ์ใช้งาน กับอีกส่วนสำหรับให้สมาชิกใช้ค้นหาหนังสือที่ต้องการ
1. พัฒนาขึ้นเอง ( ALTST ) สถาบันอุดมศึกษาสงขลา
2.ยืมและนำมาดัดแปลงเพื่อความเหมาะสมกับห้องสมุดของตน
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำเร็จรูปที่นิยมใช้
1.URICA : ทำงานกับระบบการจัดหมวดหมู่และระบบสืบค้นข้อมูล ซึ่งถือเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบแรก ที่นำมาใช้ในประเทศไทย โดยใช้กับข้อมูลภาษาอังกฤษเท่านั้น
2.DYNIX : หอสมุดแห่งชาติได้นำโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ DYNIX มาใช้ในปีพ.ศ. 2535 โดยใช้กับเครื่อง IBM RIST/6000 และเริ่มด้วยการใช้เทอร์มินัล 16 ชุด เช่นเดียวกับที่ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีก็เลือกใช้ระบบ DYNIX เช่นเดียวกับหอสมุดแห่งชาติ
3.TINLIB : ห้องสมุดมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้นำระบบ TINLIB (The Information Navigator: TINLIB) มาใช้ในปีพ.ศ.2536 เช่นเดียวกับที่ห้องสมุดสถาบันเอไอที และศูนย์ข้อมูลบริษัทปูนซิเมนต์ไทย
4.INNOPAC : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC มาใช้เป็นแห่งแรกร่วมกับห้องสมุดคณะทั้ง 28 คณะ ด้วยระบบเครือข่ายภายในที่เรียกว่าจุฬาลิเน็ต (Chulalongkorn University Library Network: Chulalinet) ซึ่งถือเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบเทิร์นคีย์ที่ใหญ่ที่สุดที่มีการติด ตั้งในประเทศไทย ต่อมาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้รับงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุดโดยได้รวมตัวกันนำระบบ INNOPAC มาใช้ในห้องสมุดกว่า 20 แห่ง
5.VTLS

Cirulation Module
1.    การยืม-คืน 
2.    การจอง
3.    ยืมต่อ
4.    การปรับ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการยืม-คืน
1.    Barcode : เป็นการกำหนดรหัสในรูปแบบแถบสีขาว มีข้อจำกัดคือ เก็บได้ไม่เยอะ ปรับข้อมูลไม่ได้ แต่ข้อดีคือ ลดความผิดพลาดในการพิมพ์



2.    QR Code : คือรหัสชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า two-dimensional bar code (2D bar code) มันหน้าที่ไว้เก็บข้อมูลต่างๆ ได้เหมือนกันแต่ว่าเร็วกว่า ใช้งานง่ายกว่า และมีลูกเล่นเยอะกว่า Bar Code มาก



3. RFID : Radio frequency identification : มีข้อดีคือเวลายืมหนังสือ ยืมได้ไกล ที่ต่างประเทศ เด็กชอบหนีเรียนรัฐบาลได้เอา FRID นี้ฝังไว้ที่เป้ของเด็กเพื่อเตรียมตัว



0 Comment!:

แสดงความคิดเห็น