Pages

20 July 11: บริการ CAS













.บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service - CAS)

เป็นบริการที่ห้องสมุดถ่ายสำเนาสารบาญวารสารที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ ๆ ในวิชาชีพ และจัดเรียงไว้ในแฟ้มตามลำดับชื่อวารสา
 เป็นการจัดบริการสารสนเทศ และความรู้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา หรือ ความสนใจ ความต้องการของผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม อย่างต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ให้ได้รับสารสนเทศทันสมัย ตรงตามความต้องการ และได้รับข้อมูล ข่าวสารที่ทันเหตุการณ์ โดยวิธีการต่างๆ ดังนี้
1) แจ้งรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่ได้รับมาใหม่
2) ส่งจดหมายข่าว แจ้งประกาศ ข่าวสารต่างๆ เช่น ข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิบัตร และมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) แจ้งรายชื่อบทความวารสารใหม่ให้ผู้ใช้ได้ทราบ 
4) ถ่ายสำเนาหน้าสารบาญวารสารฉบับใหม่ในแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้
5) ส่งเวียนวารสารฉบับใหม่ให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม 
6) สรุปเนื้อหาสำคัญของสารสนเทศแต่ละเรื่อง โดยการค้นคว้า เลือก รวบรวมรายการเอกสาร ฐานข้อมูล เว็บไซต์ พร้อมระบุขอบเขตเนื้อหาโดยสังเขป หรือ การประเมินคุณภาพและวิเคราะห์สารสนเทศตามที่ผู้ใช้ร้องขอเป็นครั้งคราว ซึ่งบางห้องสมุดอาจแยกเป็นบริการที่เรียกว่า บริการคัดเลือกเอกสารเพื่อเผยแพร่ (Selection and Dissemination of Information - SDI) แต่เป็นบริการเฉพาะบุคคล หรือกลุ่มบุคคล และเป็นบริการในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ตามความต้องการของผู้ใช้ที่ตกลงกับผู้ให้บริการ
       การให้บริการข่าวสารทันสมัย และบริการคัดเลือกเอกสารเพื่อเผยแพร่ สำหรับห้องสมุด สามารถทำได้หลายทาง เช่น ทางโทรศัพท์ โทรสาร ปัจจุบันนิยมจัดนำเสนอเป็นเว็บเพจ หรือแจ้งข่าวสารทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับฐานข้อมูลวารสารเชิงพาณิชย์ที่แหล่งสารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิกจะมีบริการ บริการ Alert ที่มีลักษณะคล้ายกับ บริการ CAS ของสถาบันบริการสารสนเทศ โดยทั่วไป มีบริการให้เลือก 3 แบบ คือ 
1) บริการแจ้งรายชื่อหนังสือใหม่ หรือ บริการส่งสารบาญวารสารฉบับใหม่ที่ผู้ใช้กำหนดทางจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์
2) บริการแจ้งรายการคัดสรรบทความในวารสารฉบับใหม่ที่ออกมา ซึ่งมีเนื้อหาตรงกับหัวข้อ หรือ คำสำคัญที่กำหนดแจ้งฐานข้อมูล ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ตามระยะเวลาที่กำหนด
3) ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล ในด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือ การปรับรูปแบบการบริการ ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
       นอกจากบริการที่จัดทำโดยห้องสมุด และ บริการของฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ โปรแกรมค้นหาบนอินเทอร์เน็ตบางโปรแกรม ก็ได้จัดบริการ CAS ให้เช่นกัน เช่น Google


รายการอ้างอิงhttp://library.cmu.ac.th/faculty/nurse/lib9.htm 


19 july 11 :บริการหนังสือสำรองและบริการ Rss











บริการหนังสือสำรอง  


เป็นบริการที่จัดขึ้นในกรณีที่อาจารย์ผู้สอน  แจ้งรายชื่อหนังสือเพื่อประกอบการค้นคว้าในวิชาใดวิชาหนึ่งของนักศึกษา  บรรณารักษ์จะจัดหนังสือนั้น ๆ ไว้ต่างหาก  โดยปิดป้ายแจ้งให้ทราบว่าเป็นหนังสือที่อาจารย์ท่านใดสั่งสำรองไว้


http://203.158.175.1/htm/lockedbook.htm




บริการ RSS

     RSS (Really Simple Syndication) คือ เอกสารที่เว็บไซต์สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับข่าวสารใหม่ๆ ของเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วไม่จำเป็นต้องเข้าไปเช็คการอัพเดทข่าวของเว็บไซต์ให้เสียเวลา
     โดยสามารถติดตั้งโปรแกรม RSS Reader ใช้สำหรับดึงหัวข้อข่าวสารที่มีบริการ RSS สามารถเลือกประเภทข่าวได้ตามความต้องการ เพิ่มรายการข่าวของเว็บไซต์นั้นๆในโปรแกรม หากมีการUpdate ข่าวจากเว็บไซต์นั้นๆ หัวข้อข่าวนั้นจะถูกส่งมาไว้ในเครื่องของเราโดยอัตโนมัติ และคลิกลิงค์ไปอ่านข่าวได้โดยตรง ทำให้ย่นเวลาในการเข้าไปดูข่าวในเว็บต่างๆ




   โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์นั้นบ่อยๆ (ทั้งนี้เนื่องจากหลายๆ เว็บอาจมีการ udpate ข้อมูลที่ไม่พร้อมกัน) โดยสามารถติดตั้งโปรแกรม RSS Reader ใช้สำหรับดึงหัวข้อข่าวสารที่มีบริการ RSS มาไว้ในเครื่องของเรา และถ้ามีการ udpate จากเว็บนั้นๆ เราก็สามารถคลิกลิงค์ไปยังเว็บที่ให้บริการได้โดยตรง ทำให้ย่นเวลาในการเข้าไปดูเว็บต่างๆ มากมาย


เพิ่มเติม : XML (Extensible Markup Language)
เป็นภาษาชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเขียนเอกสารประเภท markup โดยจะมีการใช้ tags ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับภาษา HTML เพื่อกำหนด แยกแยะประเภทของข้อมูลให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จุดเด่นของ XML คือเป็นโปรแกรมที่ยืนหยุ่นมาก และไม่ขึ้นกับโปรแกรมประยุกต์หรือระบบปฏิบัติการใดๆ

วิธีการรับ RSS
ก่อนจะรับ RSS ได้ ต้องดาวน์โหลดโปรแกรม RSS มาติดตั้งที่เครื่องเสียก่อน โปรแกรม RSS มีหลายค่ายให้เลือก ตัวอย่างเช่น
วิธีการใช้งาน RSS Reader
1. ไปที่หัวข้อข่าวที่ท่านต้องการ คลิกเมาส์ขวาที่รูป  --> เลือก Copy Shortcut
2. เปิดโปรแกรม Rss reader
2.1 กดปุ่ม 
2.2 คลิกเมาส์ขวาที่ช่อง URL --> เลือก Paste
2.3 กด Next
2.4 กด Next --> Yes เพื่อเลือก Group
2.5 โปรแกรมจะแสดงหัวข้อข่าวล่าสุด หากมีข่าวใหม่ โปรแกรมจะดึงข่าวมาลงในเครื่องให้โดยอัตโนมัติ






17 june 11 : บริการยืม-คืน









บริการยืม-คืน    (Circulation Service)


เป้าหมายหลัก คือ  บริการและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้นำเอกสารไปใช้นอกสถาบันได้



บทบาทหน้าที่ของบริการยืม-คืน
1.ก ารควบคุมงานบริการยืม - คืน  : เป็นงานบริการพื้นฐานที่ต้องมีในห้องสมุดใหม่ สืบเนื่องมาจากเป้าหมายขององค์กร คือ ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างแท้จริงและทุกคนมีสิทธิ์ยืมอย่างเท่าเทียมกัน
2. .ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด : เป็นจุดแรกที่ผู้ใช้จะมองเห็นและเข้ามาติดต่อมาก บริการนี้อาจเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพของการบริการ
ความรู้และทักษะที่ต้องการ
·มีใจรักในงานบริการสูง และมีความอดทนสูง
·มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มี ไว้บริการ เช่น รู้ว่านักเขียนคนนี้มีหนังสือใหม่ออกมาแล้ว เป็นต้น
·มีทักษะการใช้ computer , ฐานข้อมูล ,  Opac
·มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
·มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
คุณสมบัติ
·   มีวิธีคิด แนวคิดที่มีการพัฒนา
·   ต้องคำนึงถึงคุณภาพทรัพยากรสูงสูง

งานที่เกี่ยวข้อง
·การยืม คืน
·ระบบการยืม คืนผู้ใช้
·การลงทะเบียนผู้ใช้

การจัดเก็บทะเบียนผู้ใช้ : ระบบงานยืม-คืนอัตโนมัติ
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
ILS – The Integrated Library system : The Automate Library System  
:ซอฟแวร์สำหรับบริการจัดการห้องสมุดมีความสมารถหลักๆคือ มีระบบจัดเก็บรายละเอียดบรรณานุกรมของหนังสือ (รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์) และมีระบบสมาชิกที่สามารถติดตามสถานะ การยืมคืนหนังสือได้อย่างสะดวก โดยทั่วไปมักจะแบ่งส่วนติดต่อกับผู้ใช้ออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนสำหรับให้บรรณารักษ์ใช้งาน กับอีกส่วนสำหรับให้สมาชิกใช้ค้นหาหนังสือที่ต้องการ
1. พัฒนาขึ้นเอง ( ALTST ) สถาบันอุดมศึกษาสงขลา
2.ยืมและนำมาดัดแปลงเพื่อความเหมาะสมกับห้องสมุดของตน
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำเร็จรูปที่นิยมใช้
1.URICA : ทำงานกับระบบการจัดหมวดหมู่และระบบสืบค้นข้อมูล ซึ่งถือเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบแรก ที่นำมาใช้ในประเทศไทย โดยใช้กับข้อมูลภาษาอังกฤษเท่านั้น
2.DYNIX : หอสมุดแห่งชาติได้นำโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ DYNIX มาใช้ในปีพ.ศ. 2535 โดยใช้กับเครื่อง IBM RIST/6000 และเริ่มด้วยการใช้เทอร์มินัล 16 ชุด เช่นเดียวกับที่ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีก็เลือกใช้ระบบ DYNIX เช่นเดียวกับหอสมุดแห่งชาติ
3.TINLIB : ห้องสมุดมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้นำระบบ TINLIB (The Information Navigator: TINLIB) มาใช้ในปีพ.ศ.2536 เช่นเดียวกับที่ห้องสมุดสถาบันเอไอที และศูนย์ข้อมูลบริษัทปูนซิเมนต์ไทย
4.INNOPAC : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC มาใช้เป็นแห่งแรกร่วมกับห้องสมุดคณะทั้ง 28 คณะ ด้วยระบบเครือข่ายภายในที่เรียกว่าจุฬาลิเน็ต (Chulalongkorn University Library Network: Chulalinet) ซึ่งถือเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบเทิร์นคีย์ที่ใหญ่ที่สุดที่มีการติด ตั้งในประเทศไทย ต่อมาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้รับงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุดโดยได้รวมตัวกันนำระบบ INNOPAC มาใช้ในห้องสมุดกว่า 20 แห่ง
5.VTLS

Cirulation Module
1.    การยืม-คืน 
2.    การจอง
3.    ยืมต่อ
4.    การปรับ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการยืม-คืน
1.    Barcode : เป็นการกำหนดรหัสในรูปแบบแถบสีขาว มีข้อจำกัดคือ เก็บได้ไม่เยอะ ปรับข้อมูลไม่ได้ แต่ข้อดีคือ ลดความผิดพลาดในการพิมพ์



2.    QR Code : คือรหัสชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า two-dimensional bar code (2D bar code) มันหน้าที่ไว้เก็บข้อมูลต่างๆ ได้เหมือนกันแต่ว่าเร็วกว่า ใช้งานง่ายกว่า และมีลูกเล่นเยอะกว่า Bar Code มาก



3. RFID : Radio frequency identification : มีข้อดีคือเวลายืมหนังสือ ยืมได้ไกล ที่ต่างประเทศ เด็กชอบหนีเรียนรัฐบาลได้เอา FRID นี้ฝังไว้ที่เป้ของเด็กเพื่อเตรียมตัว



23.July.11 : สวทช

การบรรยาย :       สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช )
                               National Science and Technology Development Agency


              โดย :        คุณบุญเลิศ อรุณพิบูรณ์
                               หัวหน้างาน งานพัฒนาและบริการสื่อสาร ดิจิทัล

-  -  -  -  -  - -  -  -  -  -  - -  -  -  -  -  - -  -  -  -  -  - -  -  -  -  -  - -  -  -  -  -





Cloud Computing

  •  เกิดขึ้นเพราะโลกนี้มีเงินน้อยลง
  •  ทุกการประชุมสัมนาในทั่วทั้งโลกใช้เรื่องนี้เป็น หัวข้อหลักในการประชุม
  • ความหมายในมิติที่ 1 - ที่ตั้ง
          คืออะไรก็ตามที่ผ่านเข้าไปในอินเตอร์เน็ต แล้วเราไม่รู้ว่ามันไปรวมกันอยู่จุดศูนย์กลางที่ไหนนั่น
          คือไม่ต้องรู้ว่ามันไปผ่านเครื่องใหน
  • ความหมายในมิติที่  2 - กลุ่มก้อน จะไม่เป็นกลุ่มก้อน จะอยู่กระจาย
  • ความหมายในมิติที่3-มืดมน  คือไม่รู้ว่ามันไปผ่านเซิฟเวอร์ตัวใหน เพราะมันกระจาย
Black April 
  • เป็นเดือนที่อเมริกาไฟดับทั้งประเทศ อินเตอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ เซิฟเวอร์ล่ม ส่งผลไปทั่วโลก
 Cloud ระดับองค์กร
  • เช่น OCLC 
  • เป็นการตัดสินใจว่าเราจะบริการตัวเองหรือไปซื้อเซิฟเวอร์


Cloud ระดับบุคคล


เช่น gmail,Meebo,hotmail

แยกตามการให้บริการ


Public Cloud
Private Cloud
Hybird Cloud

แยกตามประเภทของเทคโนโลยี
  • Saas-Software as a service 
         ex. www.zoho.com,docs.google.com,Facebook,google
         เราไม่ต้องเขียนเอง
  • Iass-Infrastructure as a service
  • Paas-Platform as a service

Mobile Device

  • บริการต่างๆบนมือถือ
  • รู้จักผู้ใช้และพฤติกรรมจาก http://truehits.net/
  • Smart Phone : Java, Debain
  • eReader : 105
  • NetBook : windows
  • เมืองนอกจะมีบริการ เช่น ยืม-คืน บนมือถือ 

ดูลิงค์อื่นๆ   http://stks.or.th/elearning/
                   http://www.google.com/analytics/


Digital Content & Publishing

เน้น 3 อย่างคือ
1.การได้มาของเนื้อหา
2.กระบวนการผลิตคละรูปแบบ
3.ลิขสิทธิ์ต้นฉบับ การเผยแพร่



Crosswalk Metadata
  • เป็นชุดของ Metadata
  •  คือ การทำMetadata ที่มากกว่า 1 แบบ เช่น March+ Doublin Core
  •  http://www.siamrarebooks.com/    
  • รูปแบบ e-books.
  • .doc
  • .pdf
  • flip ebook
  • flash flip ebooks
  • epunlishing
  • .ePub  : เป็นนามสกุล ไม่ใช่รูปแบบของสิ่งพิมพ์ เป็นมาตฐานที่เกิดขึ้นใหม่ หนังสือจะอยู่บนชั้นได้ต้องเป็นนามสกุลนี้
     

Digital Multimedia Book.
Example Of Metadata
  • METS
  • MODS
  • PDF Metadata
  • DOC Metadata
  • MARC
  • MARCMC
  • Doublin Core
  • ISAD ( g) 
  • CDWA
  • RDF
  • OWL
  • XIF
  • XMD
  • TPCT
Open Technology
  • z39.5 คือ โปรแกรมที่คล้ายๆสำเร็จรูป มีช่องมาให้กรอกข้อมูลคล้ายๆ มาร์ค นิดหน่อย เป็นออโตเมติก มีมานานแล้ว คือสามารถลอกเอาของห้องสมุดอีกแห่งมาแปะได้เลยแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือผ่าน ILS  ห้องสมุดกับห้องสมุด
          ILS < ------- >  ILS 
  • z39.88 มี 2 ประเด็นใหญ่ๆ เกิดช้ากว่า
       
          ช่วยให้ข้อมูลบรรณานุกรมเหมือนกับ z39.5 แต่เป็นแบบห้องสมุดกับแอพอื่นๆ
          ILS < ------- > Apps
          การเพิ่มลำดับเว็บ/จัดลำดับเว็บ Webomertric
  • z39.88
  • OAI-PHM เป็นมาตรฐานที่อินเทรนด์ที่สุด ณ ตอนนี้ 
           มีแนวคิดคือ ทำ One Search
           OAI - PMH  < ------ One Search 
           ILS ,  DBs < -----> DBs, Apps 
         http://tnrr.in.th/beta/
           http://www.vijai.net เป็น One search เหมือนกันแต่ทำด้วยคิวลี่ (Web Query ) เหมือนกุเกิล 
           ไล่หาข้อมูลเอง
           One Search  ex. http:// tnrr.in.th  เว็บนี้ทำหน้าที่คือ โลกนี้มีข้อมูลอยู่ที่ไหนบ้าง ห้ามคีย์เข้าไป 
           คือไปดูดเอาข้อมูลของคนอื่นมารวมไว้ในที่เดียว เป็นซอร์ฟแวร์ออโตเมติก แต่จะตอบแค่
           เรื่องเดียว เช่น พิมพ์คำว่า ข้าว จะให้แต่เนื้อหา ข้าว ของที่ต่างๆแต่จะไม่บอกว่าเอามาจากใหน
           คือ มีกี่เว็บไม่รู้แต่ต้องเจอในเว็บนี้เว็บเดียว เช่นของ มช. เปิดเว็บ มช.เว็บเดียว แต่มีเว็บของ คณะ
           อื่นๆด้วย แต่ก็เป็นแนวคิดที่ค่อนข้างเกิดยากเพราะต้องปิดระบบเดิมเพื่อเปิดระบบ OAI
         

           
  • Linked Data -->Web/Web 3.0
            -Web 1.0 คือ ให้คนใดคนหนึ่งสร้างเว็บแล้วเราอ่านอย่างเดียว
            -Web 2.0 คือมีคนซื้อ เซิฟเวอร์ให้เราเข้าไปเขียนเองเช่น บล๊อกเกอร์
            -Web 3.0 คือ ลิงค์  ที่ตอบมาเลย ไม่ต้องหา ชัดเจน เป๊ะ หัวใจของมันคือ Semantic Web
            เ-ช่น ถ้าเข้า google  พิมพ์เชียงใหม่ห่างจากกรุงเทพกี่กิโลเมตร จะไม่เจอเราต้องไล่หาเอง
            -ถ้าเป็นSemantic Web จะป้อนเป็นประโยคได้ ไม่ใช่คำ
            -Ex. ในอนาคต google ต้องหาแบบSemantic ได้คือต้องเป็นประโยค  30 euro in baht
             -http://www.wolframalpha.com/ ประกาศตัวว่าเป็นเว็บต้นแบบของ 3.0



  • Metadata
     
  • Green Library  
       Global warming
      ...Green building
      ...Green ICT




8 july 11:บริการสอนการใช้











หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภท
ต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัดการสารสนเทศ..การแนะนำการใช้ห้องสมุด ถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศเพื่อช่วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต


 Bibliographic Instruction (BT)
คือสอนวิธีการเข้าถึงสารข้อมูล สอนวิธีการเขียนบรรณานุกรม เป็นต้น

Information Literacy
เป็นการรู้สารสนเทศ คือการที่บุคคลได้รับการฝึกให้ สามารถประยุกต์สารสนเทศมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นความจำเป็นและมีความสำคัญในการใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถของมนุษย์ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณและความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.       การแนะนำการใช้ห้องสมุด เช่น
  • การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ
  • การยืม-คืนหนังสือ
  • การยืมหนังสือต่อ (Renew)
  • การจองหนังสือ (Request)
  • การยืมระหว่างห้องสมุด (Book Delivery)
  • ฯลฯ
2.       การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์
3.       การจัดทำรายการบรรณานุกรม ได้แก่ โปรแกรม EndNote และการพิมพ์วิทยานิพนธ์
    
Literacy
คือความพยายามโบราณที่ให้ประชาชนจะต้องอ่านหนังสืออก เขียนได้ในระดับที่พอที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้
Computer Literacy
เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 หมายถึงการที่บุคคลมีความรู้ความเข้าใจ คุณสมบัติ และ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์กับงานของตนเข้ามาด้วย

การส่งเสริมการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา
·       การส่งเสริมในต่างประเทศ
อังกฤษ : กำหนดทักษะ 7 ประการในการรู้สารสนเทศในระดับอุดมศึกษา
นิวซีแลนด์ : ได้กำหนดให้ทักษะการรู้สารสนเทศเป็นทักษะที่สำคัญใน 8 ทักษะสำหรับนักเรียน
สิงคโปร์ : กระทรวงการศึกษา จัดทำคู่มือ แนะแนววิธีการสอน การประเมิน รวมทั้งมาตรฐานทักษะการรู้สารสนเทศที่พึงประสงค์
ทักษะของผู้รู้สารสนเทศ
1.มีความตระหนักในประโยชน์ของสารสนเทศ
2.รู้วิธีการเข้าถึง
3.รู้ว่าจะค้นจากแหล่งใด
4.สามารถเอามานำเสนอได้
5.ใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรม
6.มีความสามารถในการวิเคราะห์สารสนเทศ
7.มีทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ เช่น การรู้คอมพิวเตอร์