21 june 20111 : ค่าปรับและ บัตรสมาชิก

วัตถุประสงค์ในค่าปรับ
  • ·       เพื่อกระจายการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้ใช้งานรายอื่น
  • ·       การมีความรับผิดชอบและสร้างความรับผิดชอบ
  • ·       กระตุ้นให้มีการส่งคืนตามเวลาที่กำหนด

การกำหนดค่าปรับ
  • ·       จำนวนแตกต่างกัน
  • ·       การยืมระยะสั้นจะกำหนดให้ค่าปรับสูงกว่าการยืมระยะยาว
  • ·       ค่าปรับแต่ละประเภทของทรัพยากรจะมีความแตกต่างกัน
  • ·       ควรส่งเอกสารแจ้งเตือนวันส่ง

การจัดการปัญหาในการปรับ
  • ·       ต้องยึดหลักการไว้เสมอว่า ไม่หากำไรจากผู้ใช้
  • ·       หลักการคือ ปรับให้น้อยที่สุดแต่ให้หนังสือกลับมาห้องสมุดมากที่สุด
  • ·       มีการยกเว้นค่าปรับหรือผ่อนผันได้
  • ·       หากไม่ส่งคืนและไม่จ่ายค่าปรับสิทธิการใช้ห้องสมุดจะถูกริบ
  • ·       บางห้องสมุดอาจใช้บริการติดตาม (น้อยมากที่จะใช้บริการนี้)
  • ·       ห้องสมุดมหาลัยอาจทำเรื่องขอระงับการออก Transcripts หรือระงับการอนุมัติการสำเร็จการศึกษา
  • ·       การกำหนด grace period ควรให้สอดคล้องกับระยะเวลาการยืม
  • ·       หลังกำหนด grace period แล้วควรกำหนดค่าปรับเป็นจำนวนที่กำหนดโดยไม่นับตามจำนวนค่าปรับจริง
  • ·       หากมีหนังสือที่ยังไม่ได้ชำระเงินตามที่กำหนด จะไม่อนุญาตให้ยืมทรัพยากรอื่นๆได้
  • ·       ต้องประกาศแจ้งขอความร่วมมือ
  • ·       มีการแจ้งเตือนเป็นระยะๆ ก่อนดำเนินการใดๆในการจำกัดสิทธิ

การจ่ายค่าปรับ

  • ·       จ่ายที่บริการยืม-คืน
  • ·       จ่ายระบบอัตโนมัติ
  • ·       เปิดให้มีการผ่อนผัน
  • ·       ส่งค่าปรับให้มหาลัยและทำโครงการขอใช้งบประมาณจากเงินค่าปรับ




ค่าสมาชิกและค่าธรรมเนียม
·       ห้องสมุดต้องกำหนดค่าธรรมเนียมเพื่อสำหรับหนังสือที่เสียหายและต้องแจงรายละเอียดให้สมาชิกฟังและอย่าลืมว่าต้องไม่เอากำไร

จริยธรรมในการปรับ
·       ต้องให้การบริการอย่างยุติธรรมถูกต้อง เกื้อหนุนให้มีการหมุนเวียนเพื่อให้ได้ใช้อย่างทั่วถึง

การจัดชั้น
  • ·       ต้องมีการเตรียมหนังสือขึ้นชั้นทุกเทอม ตรวจสอบว่าหนังสือหายหรือไม่ หนังสืออยู่ไหน
  • ·       กำหนดให้ทุกเดือนต้องมีการ Shelf-reading ( ดูว่าหนังสือหายหรือไม่ ดูที่บัตรรายการ )
  • ·       ต้องสำรวจหนังสือที่ได้รับความนิยมและนำขึ้นชั้นแยกต่างหาก



การจัดเก็บทะเบียนผู้ใช้
·       เพื่อจำแนกว่าใครบ้างที่มีสิทธิ์ในการยืมทรัพยากรสารสนเทศหรือใช้บริการ
·       เพื่อจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการ

บัตรสมาชิ


  • ·       บัตรพลาสติก





  • ·       บัตรแถบแม่เหล็ก





  • ·       บัตรอัจฉริยะ





14 June 2011 : Library Building

 บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 009355




  • วัตถุประสงค์หลักทั่วไปของห้องสมุด



  1. เพื่อการศึกษา - การใช้ห้องสมุด เป็นหัวใจของการศึกษา เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ สามารถให้ผู้คน รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มเติมจากที่ร่ำเรียน ไม่ว่าจะเป็น นักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา รวมไปถึงผู้ที่จบการศึกษาแล้ว ประชาชนทั่วไป สามารถใช้ห้องสมุดศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต
  2. เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร - ทุกวันนี้วิทยาการต่างๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ห้องสมุดเป็นสถานที่สำหรับศึกษาวิทยาการต่างๆ และติดตามข่าวความเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกประเทศทั่วโลก ทัให้คนรู้จักข่าวคราว ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
  3. เพื่อใช้ในการค้นคว้า - ในห้องสมุด มีสารนิเทศมากมาย เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากเรื่องที่มีอยู่แล้ว
  4. เพื่อจรรโลงใจมนุษย์ - การอ่านหนังสือ นอกเสียจากการได้ความรู้แล้ว ยังทำให้ผู้อ่านมีความสุขได้อีกด้วย เนื่องจากความซาบซึ้งในความคิดที่ดีงาม ให้ความจรรโลงใจในสิ่งที่ดีแก่ผู้อ่าน ก่อให้เกิดแรงบรรดาลใจ ให้ทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ ทำให้ซาบซึ้งถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หนังสือวรรณกรรม วรรณคดี ทำให้เกิดจินตนาการ
  5. เพื่อนันทนาการ - นอกจากการอ่านหนังสือวิชาการแล้ว ห้องสมุดยังเป็นสถานที่ในการพักผ่อนหย่อนใจ เพราะห้องสมุด ยังมีหนังสือประเภทต่างๆ เพื่อให้ความบันเทิงเบาสมอง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และปลูกสำนึกรักการอ่าน รู้จักอ่านหนังสืออย่างมีวิจารณญาณ









  • หลักการของห้องสมุด
-  ห้องสมุดต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ดังนั้น ห้องสมุดในปัจจุบันต้องนำเอาเทคโนโลยี 
   สารสนเทศมาใช้ในห้องสมุดให้ได้ และห้ามอยู่เฉยๆ ต้องหา
   เงินเข้าห้องสมุดด้วย 




  • บริการของห้องสมุด

1.บริการยืม-คืนหนังสือและเอกสาร
           ห้องสมุดให้ยืมหนังสือ วารสาร วีดิทัศน์ตามสิทธิการยืมของผู้ใช้ห้องสมุด ในการยืมผู้ใช้ต้องใช้บัตรสมาชิกห้องสมุดซึ่งในการทำบัตรสมาชิกครั้งแรกสำนักหอสมุดเป็นผู้ออกบัตรให้ การต่ออายุบัตรสมาชิกสามารถทำได้ทั้งที่ห้องสมุดคณะและสำนักหอสมุดบัตรสมาชิกนี้ผู้ใช้สามารถใช้ยืมหนังสือของห้องสมุด ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทุกแห่ง 
(บัตรสมาชิก) (สิทธิการยืม-คืน และค่าปรับ) 

2. บริการหนังสือสำรอง 

          ห้องสมุดจะนำหนังสือชื่อเรื่องที่มีผู้ใช้มากและชื่อเรื่องที่อาจารย์ผู้สอนแนะนำให้ห้องสมุด
สำรองหนังสือเล่มที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนไว้ให้นักศึกษาได้อ่านอย่างทั่วถึงมาจัดเป็นหนังสือ
สำรองโดยห้องสมุดจะนำหนังสือเหล่านั้นมาเก็บไว้ที่ล้อเข็นสำหรับหนังสือสำรอง และกำหนด ระเบียบการยืมโดยจำกัดระยะเวลายืมให้ยืมได้ในระยะสั้นกว่าการยืมตามปกติ

3. บริการจองหนังสือ 

          ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถจองหนังสือเล่มที่มีผู้ยืมไปก่อนและยังไม่ครบกำหนดส่งได้ โดยขอจองหนังสือได้ที่โต๊ะบริการจ่าย-รับ และมารับหนังสือนั้นได้ตามกำหนดเวลานัดหมาย
4. บริการยืมระหว่างห้องสมุด 
(แบบกรอกรายการขอทำสำเนาเอกสารจากห้องสมุดอื่น (Interlibrary Loan Request Form))

          ห้องสมุดให้บริการโดยการขอถ่ายเอกสารจากบทความในวารสารและเอกสารประเภทอื่นๆซึ่งไม่มีในห้องสมุด โดยห้องสมุดจะติดต่อขอถ่ายเอกสารจากห้องสมุดที่มีเอกสารให้ และผู้ใช้บริการชำระค่าถ่ายเอกสารตามระเบียบของห้องสมุดนั้น ๆ

5. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
          ห้องสมุดให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าแก่ผู้ใช้ห้องสมุดที่มีปัญหาเกี่ยว
กับการใช้ห้องสมุด การใช้สิ่งพิมพ์ และการค้นคว้าหาข้อมูล

6. บริการแนะนำและสืบค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 

          ห้องสมุดจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อให้การสืบค้นข้อมูลของห้องสมุดสามารถ ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ห้องสมุดให้บริการสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ดังนี้ 
- บริการค้นข้อมูล OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นการค้นข้อมูลรายชื่อ
หนังสือของสำนักหอสมุดห้องสมุดคณะ/สำนัก/สถาบันด้วยระบบออนไลน์ซึ่งผู้ใช้ห้องสมุดสามารถใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ของห้องสมุดคณะเรียกค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่สำนักหอสมุดจัดให้บริการ กล่าวคือ ฐานข้อมูลหนังสือ ฐานข้อมูลวารสาร ฐานข้อมูลภาคเหนือ ฐานข้อมูลงานวิจัยของคณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์
          - บริการค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลของห้องสมุด
ห้องสมุดได้พัฒนาฐานข้อมูลของห้องสมุดเพื่อช่วยการค้นคว้าหาทรัพยากร สารนิเทศของห้องสมุดให้สะดวกรวดเร็วขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่ระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถติดต่อได้อย่างราบรื่น ฐานข้อมูลของห้องสมุดจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ ฐานข้อมูลดังกล่าวได้แกฐานข้อมูลหนังสือที่มีในห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่ฐานข้อมูลวารสารที่มีในห้องสมุดฐานข้อมูลจุลสารฐานข้อมูลดรรชนีกฤตภาค ฐานข้อมูลวีดิทัศน์
          - บริการค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากห้องสมุดอื่น
ห้องสมุดได้ติดต่อห้องสมุดที่มีฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางสัตวแพทยศาสตร์เพื่อขอใช้บริการค้นข้อมูลให้ผู้ใช้ห้องสมุดที่ต้องการ เช่น ฐานข้อมูล Agricola, Agris, Medline เป็นต้น

7. บริการข่าวการสัตวแพทย์
          ห้องสมุดได้บอกรับกฤตภาคหรือข่าวการสัตว์ซึ่งตัดจากหนังสือพิมพ์ภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ จากห้องสมุดและศูนย์เอกสารการสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวงการเกี่ยวกับการสัตว์ได้อย่างทันท่วงทีและ ต่อเนื่อง

8. บริการแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Information files)
         เป็นการรวบรวมข่าว บทความ และบทวิเคราะห์จากหนังสือพิมพ์ จุลสาร ภาพ เอกสารแผ่นพับ ฯลฯ จัดทำเป็นแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่องที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้า และอยู่ในความสนใจของผู้ใช้ ห้องสมุด ให้บริการในลักษณะแฟ้มข้อมูล ซึ่งบางรายการได้จัดเก็บไว้ในลักษณะรูปเล่ม

9. บริการโสตทัศนวัสดุ
          ห้องสมุดได้จัดหาโสตทัศนวัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการเรียนการสอนของคณะ ได้แก่วีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง โดยการจัดซื้อ การขอทำสำเนา และการถ่ายทำเองโดยคณาจารย์ จัดการทำสำเนาการบรรยายของอาจารย์พิเศษ การสอนการปฏิบัติการที่ห้องทดลอง และการประชุมวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถติดต่อขอยืมโสตทัศนวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้ได้ทั้งที่ยืมใช้ที่ ห้องวีดิทัศน์ซึ่งจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องเล่นไว้ให้ และสามารถยืมกลับไปใช้ที่บ้านได้
10. บริการที่นั่งอ่านหนังสือ

11. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด

12. บริการแนะนำการเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม

13. บริการสั่งซื้อหนังสือ

14. บริการการศึกษาตามอัธยาศัย
 





อาคารห้องสมุดสมัยใหม่
-ในปัจจุบันห้องสมุดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับประเทศ เช่น
  .ห้องสมุดสิงคโปร์   :  มีคนไปดูงาน ไปเยี่ยมชมเยอะมาก จนต้องตั้งแผนกไว้ให้บริการ โดย
  เป็นห้องสมุดมีชีวิต มีของขายและคล้าย Shopping mall    หลักการคือทำยังไงก็ได้ให้คน
  มาใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด


  .ห้องสมุด National library in astana , Kazakhstan






  .ห้องสมุด National checoslovakia  : > มุ่งให้เด็กใช้ห้องสมุด




- สิ่งหนึ่งที่ทุกประเทศทุ่มเทคือห้องสมุด เพราะถือว่าห้องสมุดเป็นแหล่งพัฒนามนุษย์
  ของไทยหั่นงบประมาณหมด


- ห้องสมุดจะเปลี่ยนไปเป็นจุด Community center เช่นที่ ไต้หวัน , เกาหลี จะมีร้านขายของ ม
  จุดพักผ่อน จุออกกำลังกาย ร้านกาแฟ คือมีครบทุกอย่าง 



ภายในอาคารห้องสมุด
ต้องdesign ให้ดึงดูดสวยงาม เลือกธีมเอาว่าจะให้เป็นแบบไหน

- ชั้นหนังสือเก่าเอามาทำใหม่ และพยายามประหยัดพลังงานให้มากที่สุด
- ที่สิงคโปร์สวยมากมีการสร้างป่าอยู่ข้างหน้าห้องสมุดด้วย
- ที่TCDC เอาป่ามาไว้ชั้น4ชั้น5

- Vatican Library : >> เป็นห้องสมุดหรูหรามาก ตกแต่งหรูสุดๆ

- ห้องสมุด จ.ระยอง : >> มีห้องน้ำสวยมาก



-ป้าย หรือ สัญลักษณ์ห้องสมุดก็ต้องสวย เด่น น่าสนใจน่าเข้า
- มี Book rider
- อย่าลืมว่า ห้องสมุดต้องการให้มีผู้มาใช้บริการให้มากที่สุด ดังนั้นถ้าผู้ใช้ต้องการ
  ยืนอ่าน นั่งอ่าน นอนอ่าน ก็ต้องมีจุดบริการให้
- มี  Audio  ด้วย