8 july 11:บริการสอนการใช้











หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภท
ต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัดการสารสนเทศ..การแนะนำการใช้ห้องสมุด ถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศเพื่อช่วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต


 Bibliographic Instruction (BT)
คือสอนวิธีการเข้าถึงสารข้อมูล สอนวิธีการเขียนบรรณานุกรม เป็นต้น

Information Literacy
เป็นการรู้สารสนเทศ คือการที่บุคคลได้รับการฝึกให้ สามารถประยุกต์สารสนเทศมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นความจำเป็นและมีความสำคัญในการใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถของมนุษย์ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณและความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.       การแนะนำการใช้ห้องสมุด เช่น
  • การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ
  • การยืม-คืนหนังสือ
  • การยืมหนังสือต่อ (Renew)
  • การจองหนังสือ (Request)
  • การยืมระหว่างห้องสมุด (Book Delivery)
  • ฯลฯ
2.       การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์
3.       การจัดทำรายการบรรณานุกรม ได้แก่ โปรแกรม EndNote และการพิมพ์วิทยานิพนธ์
    
Literacy
คือความพยายามโบราณที่ให้ประชาชนจะต้องอ่านหนังสืออก เขียนได้ในระดับที่พอที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้
Computer Literacy
เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 หมายถึงการที่บุคคลมีความรู้ความเข้าใจ คุณสมบัติ และ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์กับงานของตนเข้ามาด้วย

การส่งเสริมการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา
·       การส่งเสริมในต่างประเทศ
อังกฤษ : กำหนดทักษะ 7 ประการในการรู้สารสนเทศในระดับอุดมศึกษา
นิวซีแลนด์ : ได้กำหนดให้ทักษะการรู้สารสนเทศเป็นทักษะที่สำคัญใน 8 ทักษะสำหรับนักเรียน
สิงคโปร์ : กระทรวงการศึกษา จัดทำคู่มือ แนะแนววิธีการสอน การประเมิน รวมทั้งมาตรฐานทักษะการรู้สารสนเทศที่พึงประสงค์
ทักษะของผู้รู้สารสนเทศ
1.มีความตระหนักในประโยชน์ของสารสนเทศ
2.รู้วิธีการเข้าถึง
3.รู้ว่าจะค้นจากแหล่งใด
4.สามารถเอามานำเสนอได้
5.ใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรม
6.มีความสามารถในการวิเคราะห์สารสนเทศ
7.มีทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ เช่น การรู้คอมพิวเตอร์